วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

เป็นทฤษฎีที่สุมณฑา  พรหมบุญ  เป็นหัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญพัฒนาขึ้น  จุดเน้นของการเรียนเรียนรู้  คือ  การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางด้านจิตใจ  การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริง  ได้รับการฝึกฝนทักษะชีวิตต่างๆ  การแสวงหาความรู้  การคิด  การจัดการความรู้  การแสดงออก  การสร้างความรู้ใหม่  และการทำงานกลุ่ม  ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้เป็นทั้งคนเก่ง  คนดี  และมีความสุข
กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  สามารถจัดทำได้ 3 วิธี คือ
1.      กระบวนการกลุ่ม(Group process)  เป็นกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มผู้เรียนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีปฏิสัมพันธ์กัน  มีแรงจูงใจร่วมกันทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยที่สมาชิกกลุ่มมีอิทธิพลต่อกัน  หลักการสำคัญของกระบวนการกลุ่ม คือ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้  ผู้เรียนเรียนรู้จากกลุ่มมากที่สุด  ผู้เรียนได้ค้นพบและสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเอง  โดยครูเป็นผู้จัดกระบวนการให้ผู้เรียนแสวงหาคำตอบ  กิจกรรมที่มักจะใช้ในการจัดกิจกรรมกลุ่ม คือ  เกม  บทบาทสมมติ  กรณีตัวอย่าง  การอภิปรายกลุ่ม
2.      การเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ(Cooperative learning)  เป็นวิธีการเรียนที่จัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนโดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม  สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และความสำเร็จของกลุ่ม  โดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  แบ่งปันความรู้  ให้กำลังใจกันและกันและดูแลซึ่งกันและกัน  หลักการจัดการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจจะคล้ายกับกระบวนการกลุ่ม  แต่ต่างกันที่การเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจจัดกลุ่มให้ผู้เรียนคละกันทั้งด้านความรู้  ความสามารถ  ความสนใจ  ความถนัด  กิจกรรมที่มักจะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ คือ การเล่าเรื่องรอบวง  มุมสนทนา  ปริศนาความคิด  การร่วมมือกันแข่งขันกันคิด
3.      การเรียนรู้แบบสรรค์สร้างความรู้(Constructivism)  เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องแสวงหาความรู้และสร้างความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง  โดยนำความรู้ที่มีเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่  โดยครูจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสรรค์สร้างความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น