วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Readiness ความพร้อม

           หมายถึง สภาพความพร้อมหรือวุฒิภาวะของผู้เรียนทั้งทางร่างกาย อวัยวะต่าง ๆ ในการเรียนรู้และจิตใจ รวมทั้งพื้นฐานและประสบการณ์เดิม สภาพความพร้อมของหู ตา ประสาทสมองกล้ามเนื้อ ประสบการณ์เดิมที่จะเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่หรือสิ่งใหม่ ตลอดจนความสนใจ ความเข้าใจต่อสิ่งที่เห็น ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมตามองค์ประกอบต่าง ๆ ดังกล่าว ก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ 
          ดังนั้นนักจิตวิทยาที่สนใจเรื่องการเรียนรู้ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องความพร้อม (Readiness) ว่าเป็นสิ่งสนับสนุนในเรื่องการเรียนรู้เป็นอย่างมาก จากการศึกษาเรื่อง"ความพร้อม"


นักจิตวิทยาได้บ่งแนวความคิดออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
   ความพร้อมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural Readiness Approach) กลุ่มนี้มีความเห็นว่า ความพร้อม       
ของบุคคลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อถึงวัยหรือเมื่อถึงระยะเวลาที่ เหมาะสมที่จะทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดได้ ดังนั้นในกลุ่มนี้จึงเห็นว่าการทำอะไรก็ตาม ไม่ควรจะเป็น "การเร่ง" เพราะการเร่งจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น ตรงกันข้าม อาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมาคือ ความท้อถอย และความเบื่อหน่าย เป็นต้น
          ความพร้อมเกิดจากการกระตุ้น (Guided Experience Approach) กลุ่มนี้มีความเห็นตรง ข้ามกับกลุ่มแรก
คือ เห็นว่า ความพร้อมนั้นสามารถเร่งให้เกิดขึ้นได้ โดยการกระตุ้นการ แนะนำ การจัดประสบการณ์อันจะก่อให้เกิดเป็นความพร้อมได้โดยตรง โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในช่วงวัยเด็ก ซึ่งจะเป็นวัยที่มีช่วงวิกฤติ (Critical Period) ของการเรียนรู้และการปรับ ตัว เป็นอย่างมาก
          ดังนั้น การจัดลำดับเนื้อหา ผนวกกับการนำ นวัตกรรมที่เหมาะสมมาใช้จะช่วยสร้างความพร้อม ได้อย่างดี นวัตกรรมการศึกษาที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ มีหลายอย่างดังนี้
         2.2.1 ศูนย์การเรียน (Learning Center)
         2.2.2 การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School Within School)
         2.2.3 การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in Three Phases)
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น